เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งกล้อง มองฟ้า ตามหาดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ซึ่งเป็นดาวหางดวงใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 1 ก.พ. 2566 แต่อาจจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากดวงจันทร์มีความสว่างประมาณ 85% และจะลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 04.00 น. และตำแหน่งของดาวหางนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งสูงจากขอบฟ้าประมาณ 15 องศา อยู่ใกล้กับดาวเหนือ ตำแหน่งในช่วงเวลาอื่นๆ ดังในตารางข้างล่าง ตารางแสดงตำแหน่งของดาวหาง C/2022 E3 (ZTF)วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 File name : -ดาวหาง-c2022-01-02-กพ-66-v2.pdf View Fullscreen วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 (คืน วันที่ 21) คือ คืนที่สามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้ชัดที่สุดเนื่องจากเป็นคืนเดือนดับไม่มีแสงจากดวงจันทร์รบกวน เริ่มสังเกตตำแหน่งของดาวหางดวงนี้ได้ตั้งแต่เวลา 02.00 - 06.00 น. โดยในเวลาประมาณ 02.00 น. จะปรากฏในตำแหน่ง มุมทิศ 38 องศา 18 ลิปดา และมุมเงย 14 องศา 20 ลิปดา สำหรับคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 (วันจัดกิจกรรม) ดวงจันทร์สว่าง 38% และลับขอบฟ้าประมาณเที่ยงคืน เริ่มสังเกตตำแหน่งของดาวหางดวงนี้ได้ตั้งแต่เวลา 00.00 - 06.00 น. โดยในเวลาประมาณ 00.00 น. จะปรากฏในตำแหน่ง มุมทิศ 17 องศา 59 ลิปดา และมุมเงย 14 องศา 17 ลิปดา อยู่ใกล้กับดาวโคเชป (ดาวสว่างอันดับสองของกลุ่มดาวหมีเล็ก) ตำแหน่งในช่วงเวลาอื่นๆ ดังในตารางข้างล่าง ตารางแสดงตำแหน่งของดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (วันจัดกิจกรรม) File name : -ดาวหาง-c2022.pdf View Fullscreen slot pulsa tanpa potongan Related