เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งกล้อง มองฟ้า ตามหาดาวหาง  C/2022 E3 (ZTF)

ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ซึ่งเป็นดาวหางดวงใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 1 ก.พ. 2566 แต่อาจจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากดวงจันทร์มีความสว่างประมาณ 85% และจะลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 04.00 น. และตำแหน่งของดาวหางนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งสูงจากขอบฟ้าประมาณ 15 องศา อยู่ใกล้กับดาวเหนือ ตำแหน่งในช่วงเวลาอื่นๆ ดังในตารางข้างล่าง ตารางแสดงตำแหน่งของดาวหาง C/2022 E3 (ZTF)วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 (คืน วันที่ 21) คือ คืนที่สามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้ชัดที่สุดเนื่องจากเป็นคืนเดือนดับไม่มีแสงจากดวงจันทร์รบกวน เริ่มสังเกตตำแหน่งของดาวหางดวงนี้ได้ตั้งแต่เวลา 02.00 Read more

โครงสร้างการบริหารงานศูนย์วิทยาศาสตร์

การบริหารงานศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ส่วนสำนักงาน ส่วนห้องปฏิบัติการ และโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มีบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วยบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 2 คน และสายสนับสนุน จำนวน 5 คน มีโครงสร้างการบริหารงานดังนี้     Slot deposit pulsa tanpa potongan

ทำเนียบผู้บริหารศูนย์วิทยาศาสตร์

  ผศ.สัมฤทธิ์         หลวงวังโพธิ์      พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542 ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ บริหารงานเป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงต่ออธิการบดีในรูปแบบคณะกรรมการตาม คำสั่งที่ 1376/2540   อาจารย์ดวง        ทองคำซุ่ย        พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2544 ตำแหน่ง รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้จัดการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะกรรมการส่งมอบให้คณะวิทยาศาสตร์ โดยบริหารงานเป็นอิสระตามงบที่ได้รับจาก พวส.   ดร.ประสิทธิ์     ปุระชาติ ,  ผศ.ฐาปกรณ์     แก้วเงิน, Read more

วัตถุประสงค์

ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน โดยยึดยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พ.ศ. 2559 – 2563 มาเป็นแนวทางการในกำหนดและการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2559 ของศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้   เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และบัณฑิตทางวิชาการศึกษาในสาขาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาให้มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของท้องถิ่นและประเทศอย่างมีคุณภาพ โดยการ 1.1   พัฒนาความพร้อมด้านบุคลากร 1.2   พัฒนาความพร้อมด้านอาคารสถานที่ 1.3   พัฒนาความพร้อมด้านเครื่องมือและครุภัณฑ์ 1.4   พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ ความสำคัญผู้เรียน เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การค้นคว้าวิจัย ยึดหลักค้นหาความรู้ด้วยตนเองโดยการทดลอง (Laboratory Approach)   เพื่อให้บุคลากรทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาต่าง ๆ ได้มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศชาติโดยการ 2.1 Read more

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า พัฒนางานวิจัย พร้อมให้บริการ บูรณาการความรู้สู่ชุมชน พัฒนาคนสู่สากล วิสัยทัศน์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีความพร้อมในการเพิ่มศักยภาพและสนับสนุนการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ให้แก่สาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย พัฒนานักเรียน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่นให้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พันธกิจ   ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตครูและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์   บริการวิชาการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงให้แก่ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในท้องถิ่น   ส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของอาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในท้องถิ่น เอกลักษณ์ บริการด้วยใจ เน้นให้ความรู้ เชิดชูคุณธรรม     slot Read more

ประวัติศูนย์วิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2540 ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในสถาบันราชภัฏ โดยดำเนินการรูปแบบคณะกรรมการ (คำสั่งที่ 1376/2540) บริหารงานอิสระขึ้นตรงต่ออธิการบดีในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ตามโครงการนี้ จะมีงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 ข้อ ดังนี้    การก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์สูง 4 ชั้น พื้นที่ 5,650 ตารางเมตร ในสถาบันราชภัฏแต่ละแห่ง พร้อมครุภัณฑ์ประจำอาคาร แห่งละประมาณ 40 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณของไทยเองในปีงบประมาณ 2540 – 2542    การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำวิจัยในสถาบันราชภัฏทั้งสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยใช้เงินกู้แห่งละประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อและงบประมาณของไทยอีกแห่งละประมาณ Read more